น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทวันนี้ 4 ม.ค.66 ปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.33-34.35 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (08.46 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 34.41 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทลดช่วงแข็งค่ามาบางส่วน (เมื่อเทียบกับระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนที่ทำไว้ที่ 34.29 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวานที่ผ่านมา) ขณะที่แรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยกลับคืนมาบางส่วน เนื่องจากตลาดกลับมากังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ดี คงต้องระมัดระวังกรอบการเคลื่อนไหวในระหว่างวันที่ยังอาจมีความผันผวนได้
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 34.30-34.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์โควิดในจีน และการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชีย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการบริการเดือน ธ.ค. ของยุโรป รวมถึงตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงานเดือน พ.ย. ดัชนี PMI /ISM ภาคบริการเดือน ธ.ค. ของสหรัฐ และรายงานการประชุมเฟด
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ตลาดการเงินสหรัฐ ยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง และความกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (ซึ่งผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานการประชุมเฟดล่าสุดและรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ) ทำให้ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.40% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลงของหุ้นใหญ่ อาทิ Tesla -12% หลังยอดการส่งมอบรถยนต์ขยายตัวน้อยกว่าคาด และ Apple -3.7% จากความกังวลผลกระทบของการระบาด COVID-19 ในจีนต่อการผลิตสินค้าของ Apple รวมถึงแนวโน้มความต้องการซื้อ iPhone ที่ลดลง
ส่วนในทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้นกว่า +1.22% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Healthcare (Novo Nordisk +2.8%, Novartis +2.7%) ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างต้องการถือหุ้นกลุ่ม Defensive อย่าง กลุ่ม Healthcare อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลงแรงของหุ้นกลุ่มพลังงาน (Equinor -5.6%, TotalEnergies -1.7%) ตามการปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบจากความกังวลสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในจีน รวมถึงการปรับตัวแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์
ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตลาดการเงินสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง และผู้เล่นในตลาดต่างรอจับตาทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ผ่านรายงานการประชุมเฟดล่าสุดและรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 104.5 จุด อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น แต่ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดและบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐที่ทรงตัวใกล้ระดับ 3.76% ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) สามารถปรับตัวขึ้นและแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,842 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีบางจังหวะที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้โซนแนวต้านแถว 1.850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มองว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจทยอยขายทำกำไรทองคำและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นก็ตามคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญในฝั่งสหรัฐ ทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม โดย ISM (Manufacturing PMI) เดือนธันวาคม และยอดเปิดรับสมัครงาน (JOLTs Job Openings) ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งตลาดประเมินว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากขึ้น อาจส่งผลให้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่อง สะท้อนผ่าน ดัชนี PMI ภาคการผลิตที่จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 48.5 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว)
นอกจากนี้ ผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวก็จะส่งผลให้หลายบริษัทปรับแผนการจ้างงานมากขึ้น ทำให้ ยอดเปิดรับสมัครงานมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 10 ล้านตำแหน่ง จากที่เคยแตะระดับสูงถึง 11.9 ล้านตำแหน่ง สะท้อนว่าตลาดแรงงานสหรัฐ เริ่มตึงตัวน้อยลง แต่โดยรวมก็ยังมีความแข็งแกร่งอยู่
ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาท มองว่า การแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยของเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมา ได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ทั้งนี้ ในระยะสั้น เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากความหวังการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งสะท้อนผ่านมุมมองของผู้เล่นต่างชาติที่ยังต้องการเพิ่มสถานะ Short USDTHB (มองเงินบาทแข็งค่า) รวมถึงแรงซื้อหุ้นไทยสุทธิ โดยเฉพาะหุ้นในธีม Reopening ทำให้เงินบาทก็มีโอกาสแข็งค่าทดสอบแนวรับในโซน 34.25-34.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ (เงินบาทแข็งค่าทดสอบโซนดังกล่าวในวันก่อน หลังแข็งค่าหลุด 34.50 บาทต่อดอลลาร์ ตามที่ประเมินไว้)
อย่างไรก็ดี ควรระมัดระวังความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น หากตลาดปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นและหนุนให้เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ แต่มองว่า หากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ก็อาจไม่ได้กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าไปมากทะลุโซนแนวต้านแถว 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่ายนัก
อนึ่ง การเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ผันผวนสูงในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนถึงความจำเป็นของการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้คงแนะนำ ผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนักคำพูดจาก เว็บสล็อตเ