กลุ่มฮูตีโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันสัญชาตินอร์เวย์ ขณะมุ่งหน้าไปอิสราเอล คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
โอซิมเฮน ชนะซาล่าห์ คว้าแข้งยอดเยี่ยมแอฟริกา ปี 2023
“เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพ “ซากซูเปอร์โนวาแคสสิโอเปีย” สุดตรึงตรา
วันนี้ (12 ธันวาคม 2566) เป็นวันสุดท้ายของการประชุมภาคีของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP 28 ซึ่งเริ่มต้นไปตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ที่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป้าหมายของการประชุมคือ หามาตรการเพื่อกดไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยวิธีการที่หลายฝ่ายเห็นว่าเร็วที่สุดคือ ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและนำมาสู่ภาวะโลกร้อน
นี่เป็นที่มาของความพยายามผลักดันให้ที่ประชุมมีฉันทามติร่วมกันในการประกาศยกเลิกการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถ้าทำได้ จะเป็นก้าวย่างที่สำคัญในรอบ 30 ปีของความพยายามแก้ปัญหาโลกร้อน
อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ออกมาคัดค้าน และนั่นทำให้ร่างสุดท้ายที่จัดเตรียมเพื่อให้ประเทศต่างๆ ลงนามไม่มีการระบุถึงแผนลดการใช้พลังฟอสซิล หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กซึ่งจะได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนมากที่สุดออกมาคัดค้านทันที โดยประกาศว่า จะไม่ลงนามในเอกสารที่เป็นการประหารชีวิตตนเอง
โดยเมื่อวานนี้ (11 ธันวาคม 2566) ที่ประชุม COP 28 ได้มีการส่งร่างเอกสารสุดท้ายให้สมาชิกได้พิจารณาก่อนที่จะมีการลงนามอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ในร่างดังกล่าวไม่มีการระบุแผนที่ชัดเจนในการ “phase-down” หรือ ค่อยๆ ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจำกัดไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส สิ่งนี้ทำให้ประเทศเล็กที่เป็นหมู่เกาะ ซึ่งจะเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด โดยเฉพาะปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ออกมาคัดค้านทันที โดยประกาศว่าจะไม่ลงนามในเอกสารที่ถือว่าเป็นการประหารชีวิตตัวเอง หลายประเทศระบุว่า เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังที่เสียงของพวกเขาถูกกลบด้วยเสียงของประเทศที่ได้ประโยชน์จากการค้าน้ำมัน
ก่อนหน้าที่ร่างสุดท้ายจะออกมา ผู้เข้าร่วมประชุมที่พยายามผลักดันวาระการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้ออกมาประท้วงที่หน้าห้องประชุมเพื่อกดดันให้มีการใส่แผนนี้เข้าไปในร่าง
พวกเขาได้จับมือและเรียงแถวต่อกันเป็นแนวยาว หนึ่งในนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกันระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้ถือเป็นการตัดสินใจร่วมกันของพวกเธอที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถยอมรับข้อความบนร่างดังกล่าวได้ พร้อมย้ำว่า หากไม่มีการบรรจุแผนนี้เข้าไปในร่าง ก็มีโอกาสที่จะเผชิญกับอุณหภูมิโลกร้อนสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ในการประชุมช่วงดึก มีนักเคลื่อนไหวชาวอินเดียวัย 12 ปี ได้บุกขึ้นไปบนเวที และตะโกนพร้อมกับชูป้ายข้อความที่ระบุว่า ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อกอบกู้โลก และอนาคตของพวกเรา ก่อนที่ต่อมาจะถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพาลงจากเวที ทั้งนี้นักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์รายนี้ได้ปรากฏในข่าวเมื่อปีที่แล้ว หลังจากเธอเผชิญหน้ากับ แซค โกลด์สมิธ (Zac Goldsmith) อดีตรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในการประชุม COP27 ที่ชาร์ม เอล ชีค ของอียิปต์
เด็กสาวนักเคลื่อนไหวชาวอินเดียได้เริ่มสนใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากที่เธอเห็นพายุไซโคลน 2 ลูกพัดถล่มในประเทศบ้านเกิดของเธอ และต้องใช้ชีวิตท่ามกลางหมอกควันพิษในระดับสูง หลังจากย้ายมาอยู่ในกรุงนิวเดลี นี่จึงทำให้เธอออกมาเคลื่อนไหวให้ลดและเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคต
การ “phase-down” พลังงานฟอสซิลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่ออนาคตของโลก
เชื้อเพลิงฟอสซิล คืออินทรีย์สารใต้พื้นโลกที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ทะเลลึกเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ซากเหล่านี้ได้รับความร้อนจากใต้พื้นพิภพและเกิดการย่อยสลายกลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
นับตั้งแต่เริ่มต้นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ได้นำพลังงานฟอลซิลมาใช้อย่างมโหฬาร นำไปสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มหาศาลในระดับที่ความร้อนแผ่ออกจากโลกไม่ได้ ส่งผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกของโลกสูงขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวโลกที่สูงขึ้นหมายถึงการเริ่มต้นพังทลายของระบบที่ช่วยรักษาสมดุลโลก เช่น ธารน้ำแข็ง และตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่สุดโต่งและแปรปรวนมากขึ้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ประชาคมโลกได้ตกลงกันในระหว่างการประชุม COP26 เมื่อปี 2021 ที่เมืองกลาสโกว ประเทศสก็อตแลนด์ว่า ต้องหาทางทำทุกทางเพื่อไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ที่ตกลงกันไว้ในคราวนั้นเป็นการตกลงในหลักการ ก่อนที่ในการประชุม COP หนนี้จะลงรายละเอียดหรือแผนปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว หลายประเทศเสนอแนวทาง “phase-down” หรือค่อยๆ ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ต้นเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรดากลุ่มก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนไดออกไซด์คือตัวปัญหาใหญ่ เนื่องจากมีมากถึงร้อยละ 70 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม COP 28 ไม่สามารถหาฉันทามติร่วมกันในการ Phase-down การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ เพราะเจอการสกัดจากประเทศที่ผลิตน้ำมันซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของกลุ่ม OPEC และเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของกลุ่ม และรัสเซีย สมาชิกของกลุ่ม OPEC+ ยืนกรานว่า ที่ประชุมควรมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากกว่าที่จะไปแตะประเด็นการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยทั้งสองประเทศระบุว่า สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนไดออกไซด์แทนการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันทุกชาติเห็นด้วยกับแนวทางนี้ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแคนาดา ออกมาชี้ว่า ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่มเอเปกไม่ควรขีดเส้นแดงหรือออกข้อห้ามว่าสิ่งนั้นได้หรือไม่ได้ พวกเขาควรยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและเข้าร่วมอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ แล้วลงมือทำร่วมกัน ขณะที่หลายชาติ อย่าง นอร์เวย์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก ที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก และสมาชิกสหภาพยุโรปได้พยายามผลักดันให้มีการลดและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อความบนร่างดังกล่าวทำให้เหล่ารัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและสภาพภูมิอากาศของยุโรปต้องกุมขมับ เพราะไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง และพวกเขาเตรียมพร้อมที่จะทำงานอย่างหนักเพื่อผลักดันร่างดังกล่าวให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับ รัฐมนตรีต่างประเทศนอร์เวย์ระบุที่ว่า นอร์เวย์พยายามผลักดันให้ร่างดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้น เพราะตัวนอร์เวย์เองก็ต้องการลดและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นเดียวกับสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศที่ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศนอร์เวย์ย้ำว่า นอร์เวย์ตระหนักดีว่าต้องกอบกู้โลก และจะค่อยๆ ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง โดยจะหันไปใช้ระบบพลังงานที่ไม่มีการปล่อยมลพิษและไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแทน
ภาพจาก : รายการรอบโลก DAILY
กาตาร์โดนจวก ปมส่งเงินช่วยฉนวนกาซา โดยอิสราเอลรู้เห็นเป็นใจด้วย หลุดแชทเด็ก 17 ปี เรียกเพื่อนมารับหลังรู้ตัวถูก “สมรักษ์” พามาโรงแรม
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
กู้ภัยระดมเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายในทะเลหาดจอมเทียน ยังไม่ชัดมีกี่คน