ช้างถือเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาแสนนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ช้างเปรียบเสมือนเป็นอีกคนในครอบครัว แต่ในปัจจุบันความสำคัญของช้างถูกลดทอนลงเรื่อยๆ ด้วยสภาพแวดล้อมของป่าที่ค่อยๆ หายไป ถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ การนำช้างมาเร่ร่อนขายอาหาร การล่าตัดงามาขาย
ทำให้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเสนอให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนหันกลับมาเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ช้างไทยมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของช้างไทย
- การใช้ช้างเพื่อเป็นพาหนะ ขนของต่างๆ ด้วยรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมากและมันสมองฉลาด มนุษย์จึงนำช้างมาเป็นพาหนะทุ่นแรงในการเดินทางและขนของต่างๆ
- ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามเคยใช้ธงชาติเป็น รูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า
- ช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราชให้แก่ชาวไทยหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เลยทีเดียว โดยเหตุการณ์ที่มีการยกย่องช้างไทยมากที่สุดคือ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำยุทธหัตถีบนหลังช้างแล้วสร้างชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ทำให้ช้างไทยเชือกนี้ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"
- การช้างใช้ในงานหรือพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ของประเทศเช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, งานพระราชพิธีฉัตรมงคล, หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นอกจากนี้ยังใช้ช้างเป็นเหมือนฑูตเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศอีกด้วย
ทำไมต้อง 13 มีนาคม
เดิมทีกำหนดให้วันที่ 18 มกราคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย เนื่องจากเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถีบนหลังช้างแล้วสร้างชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม 2506 เป็นวันที่คณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทยกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมติคัดเลือกให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
เนื่องจาก ช้างเผือกเป็นสัตว์ป่ามีประวัติเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทย จึงได้เสนอมติเข้าสู่คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย
กิจกรรมต่างๆ ในวันช้างไทย
กิจกรรมวันช้างไทยทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษมากมาย เช่น การจัดสะโตกช้าง หรือขันโตกช้าง โดยช้างจะรับประทานอาหารที่ทางปางช้างได้จัดเตรียมไว้ การแสดงโชว์ช้าง เพื่อให้เห็นความน่ารักและความสามารถหลากหลายของช้าง เช่น ช้างทำงาน ช้างวาดภาพ ช้างเตะฟุตบอล ช้างเต้นรำ และเรายังสามารถขี่ช้างภายในบริเวณปางได้ด้วยและยังมีกิจกรรมเกี่ยวกับช้าง โดยมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ งานสัมมนา กิจกรรมให้เด็กๆ ได้ประกวดการเขียนเรียงความ วาดภาพระบายสีช้างกัน
มาถึงตอนนี้เราคงได้รู้กันแล้วว่าวันช้างไทย ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทยเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ว่าช้างเป็นสัตว์ที่ฉลาด มีเกียรติและน่ายกย่อง ดังนั้น เราควรช่วยกันเห็นคุณค่าและไม่สนับสนุนการนำช้างไปเร่ร่อนหรือสินค้าจากช้างที่ผิดกฎหมาย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจและช่วยกันอนุรักษ์ให้ช้างอยู่คู่กับสังคมไทยไปอีกนานคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เช็กชื่อ! กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ยุค “พิธา-ชัยธวัช”
ไฟไหม้ตลาดสี่มุมเมือง “เด็ก 4 ขวบพร้อมน้า” สำลักควันเสียชีวิต บาดเจ็บอีก 1
เปิดโปรแกรม 10 นัดสุดท้าย อาร์เซน่อล ลิเวอร์พูล และ แมนซิตี้ ลุ้นแชมป์พรีเมียร์ลีก